วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ภูมิปัญญาไทย

ความหมายของภูมิปัญญาไทยและวัฒนธรรมไทย


"วัฒนธรรม" หมายถึง ความเจริญในทางวิชาความรู้ เช่น วิทยาศาสตร์ ศิลปวิทยา วรรณคดี ศาสนา ตลอดจนขนบธรรมเนียม ประเพณีและจรรยามารยาท
วัฒนธรรมเป็นมรดกแห่งสังคม มีทั้งส่วนจับต้องได้และจับต้องไม่ได้ เช่น กวีนิพนธ์ ศิลปะ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมเป็นปัจจัยสำคัญในการก่อร่างสร้างความประพฤติปฎิบัติของประชาชาติ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ พระยาอนุมานราชธน พระยาอนุมานราชธน (๒๕๓๒: ๔๕ - ๔๘) ได้ให้บทนิยาม คำ "วัฒนธรรม"ว่า

วัฒนธรรม คือ" สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือผลิตสร้างขึ้น เพื่อความเจริญงอกงามในวิถีแห่งชีวิตของส่วนรวม ถ่ายทอดกันได้ เอาอย่างกันได้
คือผลิตผลของส่วนรวมที่มนุษย์ได้เรียนรู้มาจากคนแต่ก่อนสืบต่อเป็นประเพณี กันมาคือความรู้สึก ความคิดเห็น ความประพฤติ และกิริยาอาการ หรือการกระทำใดๆ ของมนุษย์ในส่วนรวมลงรูปเป็นพิมพ์เดียวกัน และสำแดงออกมาให้ปรากฏเป็นภาษา. ศิลปะ ความเชื่อถือ ระเบียบประเพณี เป็นต้นคือมรดกแห่งสังคม ซึ่งสังคมรับและรักษาไว้ให้เจริญงอกงาม เป็นผลิตผลของส่วนรวมที่มนุษย์ได้เรียนรู้มาจากคนแต่ก่อนสืบต่อเป็น ประเพณีกันมา"
พระเทพเวที ( ประยุทธ์ ปยุตโต) ได้อธิบายความหมายของวัฒนธรรมเมื่อคราวแสดงปาฐกถาพิเศษ ๑๐๐ ปี ของพระยาอนุมานราชธน เรื่อง " วัฒนธรรม กับการพัฒนา" ไว้เป็นหลายนัยอย่างน่าพิจารณา ดังนี้
วัฒนธรรม เป็นผลรวมของการสั่งสมสิ่งสร้างสรรค์และภูมิธรรมปัญญา ที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาของสังคมนั้นๆวัฒนธรรม เป็นการสั่งสมประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ ภูมิธรรมภูมิปัญญาทั้งหมดที่ได้ช่วยให้มนุษย์ในสังคมนั้นๆ อยู่รอด และเจริญสืบต่อได้ และเป็นอยู่อย่างที่เป็นในบัดนี้วัฒนธรรม คือผลรวมของทุกสิ่งซึ่งเป็นความเจริญงอกงามที่สังคมนั้นๆ ได้ทำไว้ หรือได้สั่งสมมาจนถึงบัดนี้วัฒนธรรม เป็นทั้งสิ่งที่ทำ ให้เจริญงอกงามสืบมา และเป็นเนื้อตัวของความเจริญงอดกงามที่มีอยู่ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานของความเจริญงอกงามต่อไปตลอดจนเป็นเครื่องวัดระดับความเจริญงอกงามของสังคมนั้นๆพระเทพเวที ( ประยุทธ์ ปยุตโต)ในเอกสารของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้แสดงความหมายของวัฒนธรรมไว้ต่างกัน

เช่น
วัฒนธรรม เป็นวิธีการดำเนินชีวิตของสังคม เป็นแบบแผนการประพฤติและการแสดงออกซึ่งความรู้สึกนึกคิดในสถานการณ์ต่างๆ ที่สมาชิกในสังคมเดียวกันสามารถเข้าใจและชาบชึ้งร่วมกันยอม รับและใช้ปฏิบัติร่วมกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคมนั้นๆวัฒนธรรม เป็นวิถีชีวิตของมนุษย์ที่เกิดจากระบบความสัมพันธ์ระหว่ามนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์ กับสังคม และมนุษย์กับธรรมชาติ วัฒนธรรมมีทั้งสาระและรูปแบบที่เป็นระบบความคิด วิธีการ โครงสร้างของสังคม สถาบัน ตลอดจนแบบแผนและทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้น



ความหมายของภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ความชาญฉลาด ทักษะและเทคนิค อันเกิดจากพื้นความรู้ ที่ผ่าน กระบวนการ สืบทอด เลือกสรร ปรับปรุง พัฒนา การสร้างงาน ด้วยประสบการณ์ที่สะสม มาเป็นเวลานานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับยุคสมัย ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ที่เป็นของท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง หรือสังคมใดสังคมหนึ่ง ภูมิปัญญาชาวบ้าน หมายถึง ความรู้ของชาวบ้านที่สร้างขึ้นจากประสบการณ์และความเฉลียวฉลาดของแต่ละคน ซึ่งเกิดการเรียนรู้จากคนในครอบครัว ญาติพี่น้อง และผู้นำของชุมชน ความรู้ที่เกิดขึ้นจากคนในครอบครัว ญาติพี่น้อง และผู้นำของชุมชน ลักษณะความรู้ที่เกิดขึ้นมีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตซึ่งมีความสัมพันธ์กับคน สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และธรรมชาติ สืบทอดกันมาจากบรรพชนสู่ลูกหลาน ระหว่างการสืบทอดมีการปรับปรุง พัฒนาจนเกิดเป็นความรู้ใหม่ตามสภาพของสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม




ประเภทของภูมิปัญญาไทย

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้แบ่งประเภทของภูมิปัญญาไทยไว้ ดังนี้


1. ภูมิปัญญาด้านคติธรรม ความคิด ความเชื่อ หลักการที่เป็นพื้นฐานขององค์ความรู้ที่เกิดจากการสั่งถ่ายทอดกันมา


2. ภูมิปัญญาด้านศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นแบบแผนการดำเนินชีวิตที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา


3. ภูมิปัญญาด้านการประกอบอาชีพในท้องถิ่น ที่ยึดหลักการพึ่งตนเองและได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมกับกาลสมัย


4. ภูมิปัญญาด้านแนวความคิด หลักปฏิบัติ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่ชาวบ้านนำมาดัดแปลงใช้ในชุมชนอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่นอกจากนี้ยังมีการกำหนดสาขาภูมิปัญญาไทย เพื่อนำภูมิปัญญาไทยมาใช้ในการเรียนรู้และส่งเสริมโดยแบ่งภูมิปัญญาออกเป็น 10 สาขา ดังนี้



1. สาขาเกษตรกรรม หมายถึง ภูมิปัญญาไทยในด้ายการผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะ และ เทคนิคด้านการเกษตรกับเทคโนโลยี โดยการพัฒนาบนพื้นฐานคุณค่าดั้งเดิม เพื่อให้คนไทยสามารถพึ่งตนเ้องในสภาวะการณ์ต่างๆได้







2. สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม หมายถึง ภูมิปัญญาไทยในด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูปผลผลิตเพื่อชลอการนำเข้า และการสนับสนุนให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจได้






3 สาขาการแพทย์แผนไทย หมายถึง ภูมิปัญญาไทยในด้านการป้องกันและรักษาสุขภาพของคนในชุมชน โดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพและอนามัยได้






4. สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง ภูมิปัญญาไทยในด้านการจัดการทรัพยากรธรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการอนุรักษ์ การพัฒนาและใช้ประโยชน์อย่างสมดุลและยั่งยืน



5. สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน หมายถึง ภูมิปัญญาไทยในด้านการบริหารจัดการเกี่ยวกับการสะสมและบริหารกองทุนและธุรกิจชุมชนที่อยู่ในรูปของเงินตราและทรัพย์สิน เพื่อเสริมสร้้างความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชน






6. สาขาสวัสดิการ หมายถึง ภูมิปัญญาไทยในด้านสวัสดิการในการประกันสุขภาพชีิวิตของคนให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม





7. สาขาศิลปกรรม หมายถึง ภูมิปัญญาไทยในด้านการผลิตผลงานด้านศิลปะสาขาต่างๆ










8. สาขาการจัดการ หมายถึง ภูมิปัญญาไทยในด้านการจัดการดำเนินงานด้านต่างๆ ทั้งของ
องค์กรชุมชน องค์กรทางศาสนา องค์กรทางการศึกษา และองค์กรทางสังคมอื่นๆ








9. สาขาภาษาและวรรณกรรม หมายถึง ภูมิปัญญาไทยในด้านการผลิตผลงานทางด้านภาษาทั้งภาษาถิ่น ภาษาโบราณ ภาษาไทย การใช้ภาษา และวรรณกรรม







10. สาขาศาสนาและประเพณี หมายถึง ภูมิปัญญาไทยในด้านการประุยุกต์ใช้และปรับใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนา ความเชื่อและประเพณี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น